วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

บ้านทรงไทยภาคอีสาน


    บ้านทรงไทยภาคอีสาน





  บ้านทรงไทยภาคอีสาน
          การตั้งบ้านเมืองในภูมิภาคอีสานตั้งแต่สมัยโบราณ มัก เลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มอันมีแม่น้ำสำคัญๆ เช่น น้ำโขง น้ำมูลน้ำชี น้ำพอง เป็นต้น นอกจากนี้ก็อาศัย ตามริมหนองบึง ถ้าพื้นที่ใดเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ก็ขยับ ขยายไปอยู่ บนโคก เนิน เป็นส่วนใหญ่ การตั้งหมู่บ้าน เรือนจะ กระจุก รวมตัวกัน ต่างจากทางภาคกลาง ชาวอีสาน มีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหัน ไปทาง ทิศตะวันออกและตะวันตก ให้ด้านยาวหันไปทาง ทิศเหนือและใต้ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าวางเรือน แบบ ล่องตาเว็นเชื่อว่าหากสร้างเรือนขวางตาเว็นและจะ ขะลำคือเป็นอัปมงคล ทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุข รูปแบบของเรือนไทยภาคอีสาน  เสายกพื้นค่อนข้างสูง ทำให้มีพื้นที่ใต้ถุนสูง ใช้เป็นที่ ประกอบหัตถกรรมครัว เรือน ทอผ้า ใช้เก็บไห หมักปลาร้า เป็นคอกเลี้ยงสัตว์ เก็บอุปกรณ์ทำไร่ทำนา ไปจนถึงจอดเกวียนหรือล้อก็ได้ ถือว่าเป็น บริเวณ ที่มีการใช้สอยมากที่สุด มักทำยุ้งข้าว ไว้ใกล้ๆ เรือน หลังคาใช้วัสดุในท้องถิ่นคือมุงด้วยหญ้าหรือสังกะสี ฝาเรือนมักใช้ฝาแถบตอง โดยใช้ใบกุงหรือใบชาดมา ประกบด้วยไม้ไผ่สานโปร่งเป็นตาตาราง หรือทำเป็น ฝาไม้ไผ่สาน มีส่วนที่เรียกว่า เกย” (ชานโล่งมีหลังคา คลุม) เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจาก เรือนนอน ใหญ่ มักใช้ เป็นที่รับแขก ที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะ เตี้ยกว่าปกติ ใช้เป็นที่เก็บฟืน ชานแดดเป็นบริเวณ นอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝด กับเรือนไฟ มี บันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี ฮ้างแอ่งน้ำเป็นที่วางหม้อดิน ใส่น้ำดื่มอยู่ตรงขอบ ของชานแดด บริเวณรอบๆเรือนอีสานไม่นิยมทำรั้วเพราะเป็นสังคมเครือญาติ วัฒนธรรมไทยอีสานที่สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มชนในสายวัฒนธรรมไต-ลาว ซึ่งตั้ง ถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ตาม แนวลำน้ำโขงฝั่งขวาที่อพยพ ถ่ายเทครัวเรือนมาสู่ฝั่งซ้าย คือภาคอีสานของไทย และเพื่อ ให้ชีวิตความเป็นอยู่สอดคล้อง กับสิ่งแวดล้อมใหม่ จึงได้มีการ พัฒนาการทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม ตลอดจนความ เชื่อและศาสนาขึ้นใหม่จนเกิดเป็นวัฒนธรรมไทยอีสาน




                           
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น