วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

บ้านทรงไทยภาคอีสาน


    บ้านทรงไทยภาคอีสาน





  บ้านทรงไทยภาคอีสาน
          การตั้งบ้านเมืองในภูมิภาคอีสานตั้งแต่สมัยโบราณ มัก เลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มอันมีแม่น้ำสำคัญๆ เช่น น้ำโขง น้ำมูลน้ำชี น้ำพอง เป็นต้น นอกจากนี้ก็อาศัย ตามริมหนองบึง ถ้าพื้นที่ใดเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ก็ขยับ ขยายไปอยู่ บนโคก เนิน เป็นส่วนใหญ่ การตั้งหมู่บ้าน เรือนจะ กระจุก รวมตัวกัน ต่างจากทางภาคกลาง ชาวอีสาน มีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหัน ไปทาง ทิศตะวันออกและตะวันตก ให้ด้านยาวหันไปทาง ทิศเหนือและใต้ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าวางเรือน แบบ ล่องตาเว็นเชื่อว่าหากสร้างเรือนขวางตาเว็นและจะ ขะลำคือเป็นอัปมงคล ทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุข รูปแบบของเรือนไทยภาคอีสาน  เสายกพื้นค่อนข้างสูง ทำให้มีพื้นที่ใต้ถุนสูง ใช้เป็นที่ ประกอบหัตถกรรมครัว เรือน ทอผ้า ใช้เก็บไห หมักปลาร้า เป็นคอกเลี้ยงสัตว์ เก็บอุปกรณ์ทำไร่ทำนา ไปจนถึงจอดเกวียนหรือล้อก็ได้ ถือว่าเป็น บริเวณ ที่มีการใช้สอยมากที่สุด มักทำยุ้งข้าว ไว้ใกล้ๆ เรือน หลังคาใช้วัสดุในท้องถิ่นคือมุงด้วยหญ้าหรือสังกะสี ฝาเรือนมักใช้ฝาแถบตอง โดยใช้ใบกุงหรือใบชาดมา ประกบด้วยไม้ไผ่สานโปร่งเป็นตาตาราง หรือทำเป็น ฝาไม้ไผ่สาน มีส่วนที่เรียกว่า เกย” (ชานโล่งมีหลังคา คลุม) เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจาก เรือนนอน ใหญ่ มักใช้ เป็นที่รับแขก ที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะ เตี้ยกว่าปกติ ใช้เป็นที่เก็บฟืน ชานแดดเป็นบริเวณ นอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝด กับเรือนไฟ มี บันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี ฮ้างแอ่งน้ำเป็นที่วางหม้อดิน ใส่น้ำดื่มอยู่ตรงขอบ ของชานแดด บริเวณรอบๆเรือนอีสานไม่นิยมทำรั้วเพราะเป็นสังคมเครือญาติ วัฒนธรรมไทยอีสานที่สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มชนในสายวัฒนธรรมไต-ลาว ซึ่งตั้ง ถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ตาม แนวลำน้ำโขงฝั่งขวาที่อพยพ ถ่ายเทครัวเรือนมาสู่ฝั่งซ้าย คือภาคอีสานของไทย และเพื่อ ให้ชีวิตความเป็นอยู่สอดคล้อง กับสิ่งแวดล้อมใหม่ จึงได้มีการ พัฒนาการทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม ตลอดจนความ เชื่อและศาสนาขึ้นใหม่จนเกิดเป็นวัฒนธรรมไทยอีสาน




                           
           

รูปแบบของเรือนไทยอีสาน


รูปแบบของเรือนไทยอีสาน

             รูปแบบของเรือนไทยอีสานสามารถแบ่งได้ตามประเภทของการพักอาศัย เพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในวาระต่าง ๆ กันดังต่อไปนี้

    1. ประเภทชั่วคราว หรือใช้เฉพาะฤดูกาล ได้แก่ เถียงนาหรือเถียงไร่ส่วนใหญ่จะ ยกพื้นสูง เสาเรือนใช้ไม้จริง ส่วนโครงใช้ไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมาจากเรือนเก่า พื้นเป็นไม้ไผ่สับ ในกรณีที่ไร่นาอยู่ไม่ไกลจากเรือนพักสามารถไปกลับได้ภายในวันเดียวจะไม่นิยมกั้นฝา หากต้องค้างคืนก็มักกั้นฝาด้วย แถบตองคือสานไม้ไผ่เป็นตารางขนาบใบต้นเหียงหรือ ใบต้นพวง ซึ่งจะทนทายอยู่ราว 1-2 ปี 


    2. ประเภทกึ่งถาวร เป็นเรือนขนาดเล็กที่ไม่มั่นคงแข็งแรงนักชาวอีสานเรียกว่า เรือนเหย้าหรือ   
เฮือนย้าวเป็นการเริ่มต้นชีวิตการครองเรือน และค่อย ๆ เก็บหอมรอมริบไป สู่การมีเรือนถาวรในที่สุด      

      
    
        2.1 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิดตูบต่อเล้า เป็นเรือนที่อิงเข้ากับตัวเล้าข้าว ซึ่งมีอยู่เกือบทุกครัวเรือนมีลักษณะคล้ายเพิงหมาแหงนทั่วไปด้านสูงจะไปอาศัยโครงสร้างของเล้าข้าวเป็นตัวยึดต่อหลังคาลาดต่ำลงไปทางด้านข้างของเล้า แล้วใช้เสาไม้จริงตั้งรับเพียง 2-3 ต้น มุงหลังคาด้วยหญ้าหรือสังกะสี ยกพื้นเตี้ย ๆ  กั้นฝาแบบชั่วคราว อาศัยกันไปก่อนสักระยะหนึ่ง พอตั้งตัวได้ก็จะย้ายไปปลูกเรือนใหญ่ถาวรอยู่เอง ตรงส่วนที่เป็นตูบต่อเล้านี้ก็ทิ้งให้เป็นที่นอนเล่นของพ่อแม่ต่อไป



      2.2 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด ดั้งต่อดิน เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกตัวออกจากเรือนใหญ่ทำนองเดียวกัน ตูบต่อเล้า แต่จะดูเป็นสัดส่วนมากกว่า ขนาดของพื้นที่ค่อนข้างน้อยกว้างไม่เกิน 2 เมตร ยาวไม่เกิน 5 เมตร นิยมทำ 2 ช่วงเสา คำว่า         ดั้งต่อดิน เป็นคำเรียกของชาวไทยอีสาน ที่หมายถึง ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่

      วิธีสร้าง ดั้งต่อดิน มักใช้ผูกโครงสร้างเหมือนกับเรือนเครื่องผูกตัวเสาและเครื่องบนนิยมใช้ไม้จริงทุบเปลือก หลังคามักมุงด้วยหลังคาทีกรองเป็นตับแล้วเรียกว่า ไฟหญ้า หรือใช้แป้นไม้ที่รื้อมาจากเรือนใหญ่

    ฝาเรือนมักใช้ฝาแถบตองโดยใช้ใบกุงหรือใบชาดามาประกบกับไม้ไผ่สานโปร่งเป็นตาราง หรือทำเป็นฝาไม้ไผ่สับฟากสานลายขัดหรือลายสองทแยงตามแต่สะดวก ส่วนพื้นนิยมใช้พื้นสับฟากหรือใช้แผ่นกระดานปูรอง โดยใช่ไม้ไผ่ผ่าซีกมามัดขนาบกันแผ่นกระดารขยับเลื่อน




    2.3 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด ดั้งตั้งคานยังอยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูกมีความแตกต่างจากเรือนดั้งต่อดินตรงที่เสาดั้งต้นกลางจะลงมาพักบนคานของด้านสกัดไม่ต่อลงไป ถึงดิน ส่วนการใช้วัสดุมุงหลังคา ฝาและพื้นเรือนจะใช้เช่นเดียวกับเรือนประเภทดั้งต่อดิน

          3. ประเภทถาวร ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น เรือนเครื่องสับสังเกตได้จากการเลือกใช้วัสดุ รูปแบบของการก่อสร้างประโยชน์ใช้สอยและความประณีตทางช่าง อาจจำแนกเรือนถาวรได้เป็น 3 ชนิดดังนี้

  
         
       3.1 ชนิดเรือนเกย มีลักษณะใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วเสาใช้ไม้กลม 8 เหลี่ยม หรือเสา 4 เหลี่ยม ตัวเรือนประกอบด้วยเรือนใหญ่ เกย ชานแดด เรือนไฟ และฮ้างแอ่งน้ำ (ร้านหม้อน้ำ)



   3.2 ชนิดเรือนแฝด มีลักษณะใต้ถุนสูงและใช้เสากลมหรือเสาเหลี่ยมเช่นเดียวกัน ตัวเรือนประกอบด้วยเรือนใหญ่ เรือนแฝด เกย ชานแดด เรือนไฟ ฮ้างแอ่งน้ำ

   


           3.3 ชนิดเรือนโข่ง มีลักษณะใต้ถุนสูงและใช้เสากลมหรือเสาเหลี่ยม มีจั่วแฝดอยู่ชิดติดกัน ไม่นิยมมีเกย เรือนชนิดนี้ประพกอบด้วย เรือนใหญ่ เรือนโข่ง ชานแดด เรือนไฟ และฮ้างแอ่งน้ำ






วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ฤกษ์ยามในการสร้างบ้าน

         ฤกษ์ยามในการสร้างบ้าน

             ฤกษ์เดือน

    1. เดือนเจียง (เดือนอ้าย) นาคนั้นนอนหลับหากปลูกเรือนอยู่มักตาย

    2. เดือนยี่ นาคนอนตื่น ปลูกเรือนอยู่ดี

    3. เดือนสาม นาคหากินทางเหนือ มิดี อยู่ฮ้อนไฟจักไหม้

    4. เดือนสี่ นาคหากินอยู่เรือน ปลูกเรือนอยู่ดีเป็นมงคล

    5. เดือนห้า นาคพ่ายครุฑหนี ปลูกเรือนร้อนนอกร้อนใจ มิดี

    6. เดือนหก จะบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง มิตรสหายมาก

    7. เดือนเจ็ด นาคพ่ายหนี จักได้พรากจากเรือนมิดี

    8. เดือนแปด นาคเห็นครุฑ จักได้เสียของมิรู้แล้ว

    9. เดือนเก้า นาคประดับตน ปลูกเรือนมีข้าวของกินมิรู้หมด

    10. เดือนสิบ นาคถอดเครื่องประดับ ปลูกเรือนเข็ญใจ และคนในเรือนมักเจ็บ ไข้ตาย

    11. เดือนสิบเอ็ด จะเกิดทุกข์ภัยอันตรายต่าง ๆ มักจะมีคนฟ้องร้องกล่าวหา จัก มีโทษทัณฑ์

    12. เดือนสิบสอง จะได้ทรัพย์สิน เงินทอง ข้าวของ และคนใช้ดีหลีแล
    

       ฤกษ์วัน 

    1. วันอาทิตย์ ปลูกเรือนจะเกิดทุกข์อุบาทว์

    2. วันจันทร์ ทำแล้ว 2 เดือนจะได้ลาภผ้าผ่อนและของขาวเหลือง เป็นที่พึงพอใจ

    3. วันอังคาร ทำแล้ว 3 วันไฟจะไหม้หรือเจ็บไข้

    4. วันพุธ ปลูกเรือนจะได้ลาภเครื่องอุปโภคมีผ้าผ่อน เป็นต้น

    5. วันพฤหัสบดี ปลูกเรือนจะเกิดสุขสบายใจ ทำแล้ว 5 เดือนจะได้โชคลาภมากมาย

    6. วันศุกร์ ปลูกเรือนจะมีความทุกข์และความสุขก้ำกึ่งกัน ทำแล้ว 3 เดือน จะได้ลาภ เล็กน้อย

    7. วันเสาร์ ปลูกเรือนจะเกิดพยาธิ หรือเลือดตกยางออก ทำแล้ว 4 เดือนจะลำบาก